หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของสื่อมัลติมีเดีย


ปัจจุบันมัลติมีเดียจัดว่าเป็นสื่ออีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ (Product and Service Presentation) การเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์(E-learning) และการนำเสนอผลงานต่างๆ (Task Presentation) ตลอดจนใช้เป็นสื่อบันเทิง(Entertainment) ทั้งในครัวเรือนและอุตสาหกรรมในหน่วยการเรียนรู้นี้ มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงความหมาย องค์ประกอบ และประโยชน์ของมัลติมีเดีย และการสร้างงานมัลติมีเดียด้วยโปรแกรมที่เลือกใช้เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีตที่ผ่านมาจะพบว่าสื่อต่างๆ ที่พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือตัวอักษรที่เขียนไว้บนดินเหนียวหรือใบลาน เครื่องโทรทัศน์แสดงภาพที่เป็นสีขาวดำ เครื่องวิทยุกระจายเสียงได้  เพียงระยะใกล้และมีเสียงแบบโมโนหรือแม้แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ยังเป็นเพียงแค่เครื่องคำนวณตัวเลข ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบมัลติมีเดียทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม มัลติมีเดียก็ยังคงได้รับการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันโดยมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับพัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ในบทเรียนนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้ถึงวิวัฒนาการความเป็นมาของมัลติมีเดีย ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน และเพื่อให้เข้าใจถึงกรอบแนวคิดของระบบมัลติมีเดียตลอดจนสามารถอธิบายถึงส่วนประกอบของมัลติมีเดียพีซีได้ อาจกล่าวได้ว่ามัลติมีเดียเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันโดยตรง ดังนั้น หากจะกล่าวถึงความเป็นมาของมัลติมีเดียแล้ว จำเป็นต้องกล่าวร่วมกับความเป็นมาของเครื่องพีซีด้วย อาจกล่าวได้ว่ามัลติมีเดียเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันโดยตรง ดังนั้น หากจะกล่าวถึงความเป็นมาของมัลติมีเดียแล้ว จำเป็นต้องกล่าวร่วมกับความเป็นมาของเครื่องพีซีด้วย ดังนี้


ปี ค.ศ. 1643 Blaise Pascal นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์เครื่องคำนวณบวกลบ
เลขได้สำเร็จเป็นเครื่องแรกของโลก โดยอาศัยระบบฟันเฟืองในการทดเลขของการบวกและลบเลข
อย่างง่าย สิ่งประดิษฐ์นี้เรียกว่า “Pascaline” แต่ยังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถคูณและหารตัวเลขได้
                                                                


ปี ค.ศ. 1822 Charles Babbage นักคณิตย์ศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นเครื่องคำนวณค่าล็อก(Log)
ได้สำเร็จโดยการเจาะรูบนบัตรแข็งหรือที่เรียกว่าพั้นช์การ์ด (Punch Card แล้วป้อนเข้าสู่เครื่อง
คำนวณซึ่งเรียกสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า“Analytical Engine”
                                                





ปี ค.ศ. 1946 Mauchly และ Eckert University of Pennsylvania ได้มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ของคอมพิวเตอร์ในรูปแบบดิจิตอล(Digital)แล้วเรียกสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า ENIAC(Electronic NumericalIntegratorandCalculator) โดยมีขีดความสามารถในการคำนวณได้ถึง 5,000 คำสั่งภายในวินาทีอย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับขนาดของเครื่องที่ใหญ่โตมากขนาดเท่าตึกสองชั้นและน้ำหนักรวมมากถึง 30 ตันรวมถึงชิ้นส่วนประกอบภายในอีกจำนวนมากเช่นหลอดสูญญากาศ(VacuumTubes) มีจำนวนถึง 19,000 หลอดและตัวรีซิสเตอร์(Resistor) มีจำนวนถึง 70,000 ชิ้นจึงทำให้ต้องใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมากคือไม่น้อยกว่า 200,000 วัตต์จึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน
                                                    
ปี ค.ศ. 1970 บริษัท อินเทล(Intel Corporation) ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่เรียกว่า ชิพ” (Chip)หรือ ไมโครโพรเซสเซอร์” (Microprocessor)ซึ่งเป็นชิ้นส่วนประกอบหลักสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ และภายในปีเดียวกันนี้ บริษัท แอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) ได้เข้ามามีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal Computer : PC)


ปี ค.ศ.1980 – 1990 อุตสาหกรรมไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ได้มีการพัฒนาอย่างต่อ
เนื่องและรวดเร็วส่งผลให้เครื่องพีซีมีขีดความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยในปี ค.ศ. 1990เทคโนโลยีซีดี (Compact Disk) สำหรับใช้บันทึกและจัดเก็บเสียงและวีดีโอได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกทำให้เครื่องพีซีสามารถทำงานรวมกับมัลติมีเดียได้เป็นอย่างดี โดยเรียกชื่อว่า มัลติมีเดียพีซี”(Multimedia Personal Computer:MPC) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย


ปี ค.ศ. 1991 ผู้นำอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้แบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ ประกอบด้วย ค่ายไมโครซอฟต์ (Microsoft Group) มีจำนวนสมาชิก 85 องค์กรได้จัดตั้งขึ้นเป็นสมาคมมัลติมีเดียพีซี (Multimedia Personal Computer :MPC) ในขณะที่ค่ายไอบีเอ็มกับแอปเปิ้ล (IBM & Apple Group) มีจำนวนสมาชิก 200 องค์กร ได้จัดตั้งขึ้นเป็นสมาคมมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์(Interactive Multimedia Association : IMA) โดยแต่ละสมาคมมีบทบาทและหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานและแนวทางการพัฒนาร่วมกัน


ปี ค.ศ. 1992 – 1993 ทั้งสองสมาคม (MPC และ IMA) ได้มีข้อกำหนดแนวทางร่วมกันของ
มาตรฐานมัลติมีเดียพีซีขึ้น ประกอบด้วย MPC-1, MPC-II และ MPC-III โดยมีรายละเอียดในตาราง
ถัดไป

 
ฮาร์ดแวร์
MPC-I
MPC-II
MPC-III
ซีพียู (CPU)
386SX(16 MHz)
386SX(16 MHz)
386SX(16 MHz)
แรม (RAM)
4 MB
8 MB
16 MB
ฮาร์ดดิสก์(Harddisk)
30 MB
160 MB
500 MB
การ์ดเสียง(Sound Card)
8 bit + MIDI
16 bit + MIDI
16 bit + MIDI
การ์ดวีดีโอ(Video Card
VGA
SVGA
SVGA + MIDI
ความละเอียด(Resolutions)
640 x 480 Pixels
640 x 480 Pixels
640 x 480 Pixels
ความลึกของสี(Color Depth)
256 (8 vit)
65 K(16 bit)
65 K(16 bit)





 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น